ยินดีต้อนรับเข้าสู่ห้องสมุดประชาชนอำเภอสระโบสถ์

ประวัติอำเภอสระโบสถ์

ประวัติตำบลสระโบสถ์
          นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 ซึ่งตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอพุคาซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางมากขึ้นกับมณฑลอยุธยา มีหลวงสรณรงค์เป็นปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอคนแรกต่อมา หลวงอนุบาลสารกรม(กลิ่น) พิจารณาเห็นว่าที่ตั้งกิ่งอำเภอพุคาไม่เหมาะสม มีพลเมืองน้อย มีสัตว์ป่าดุร้าย และไข้ป่าชุกชุม จึงรายงานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอใหม่ห่างจากเดิมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร มีชุมชนค่อนข้างหนาแน่นประกอบด้วยบ้านสระโบสถ์และบ้านโคกสำโรงต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ แต่ด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏได้เรียกชื่ออำเภอแห่งนี้ว่า "อำเภอสระโบสถ์"แต่สถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสระโบสถ์อยู่บริเวณกลางบ้านโคกสำโรงอาคารที่ว่าการเป็นหลังคามุงแฝกสันนิษฐานว่า เป็นศูนย์กลางระหว่างบ้านสระโบสถ์ซึ่งเป็นบ้านใหญ่กว่าบ้านพุคาสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอพุคาเดิมเป็นศูนย์กลางของประชาชนและการคมนาคมสะดวก ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2352 มีราษฎรคนสำคัญคนหนึ่งชื่อนายติ่งไม่ทราบนามสกุลเป็นคหบดีที่ร่ำรวย และมีคนนับหน้าถือตามาก ได้ขอแรงราษฎรให้ย้ายที่ว่าการอำเภอหลังเดิมที่มุงแฝกไปก่อสร้างใหม่ เป็นอาคารไม้หลังคามุงแฝก ที่บริเวณที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารที่ว่าการอำเภอโคกสำโรงในปัจจุบัน ต่อมาในสมัยหลวงประสิทธิ์นรกรรม (นายเจียม หงษ์ประภาส) เป็นนายอำเภอคนที่ 4 ได้เปลี่ยนชื่อจาก"อำเภอสระโบสถ์” เป็น "อำเภอโคกสำโรง" เมื่ออำเภอสระโบสถ์เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอโคกสำโรงแล้ว ก็ดำเนินการปกครองกันเรื่อยมา แต่เนื่องจากมีเขตการปกครองกว้างขวาง มีจำนวนพลเมืองมากท้องที่บางตำบลอยู่ห่างไกลจากที่ว่าการอำเภอ เจ้าหน้าที่ออกตรวจตราดูแลความทุกข์สุขของราษฎรไม่ทั่วถึงโจรผู้ร้ายชุกชุมจึงได้มีประกาศประทรวงมหาดไทยลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 แบ่งท้องที่อำเภอโคกสำโรงออกเป็นกิ่งอำเภอสระโบสถ์อีก 1 แห่ง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลสระโบสถ์ ตำบลมหาโพธิ์ ตำบลทุ่งท่าช้างทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ โดยสามารถให้บริการแก่ประชาชน ตั้ง วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2526กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งตำบลห้วยใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 1 ตำบล โดยแยกออกจากท้องที่ตำบลทุ่งท่าช้างและตำบลสระโบสถ์บางส่วนและได้เพิ่มตำบลห้วยใหญ่อีก 1 ตำบล อำเภอสระโบสถ์จึงได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531
          การตั้งถิ่นฐานของตำบลสระโบสถ์จะมีสองหมู่บ้านคือบ้านสระโบสถ์และบ้านรองเพกา บ้านสระโบสถ์เดิมเป็นตำบลหนึ่งในพื้นที่การปกครองโดยฐานะตำบลสระโบสถ์ ตำบลมหาโพธิ์ ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลทุ่งท่าช้าง รวมเป็นกิ่งอำเภอสระโบสถ์และยกฐานะเป็นอำเภอสระโบสถ์จนถึงปัจจุบัน การสร้างบ้านเรือนครั้งแรกของหมู่บ้านเริ่มขึ้นตรงบริเวณต้นมะขามใหญ่ข้างอุโบสถ์หลังเก่าของวัดสว่างอารมณ์ที่มีประมาณ๓-๔ หลังคาเรือน จึงเริ่มสร้างวัดสระโบสถ์นี้ขึ้นด้วยการขุดสระน้ำ แล้วนำดินมาปั้นเป็นก้อนอิฐขนาดใหญ่เพื่อสร้างโบสถ์ จึงชื่อว่า บ้านสระโบสถ์ เพราะมีสระน้ำและอุโบสถ์อยู่ใกล้กันส่วนบ้านรองเพกาชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวสระโบสถ์ที่ออกมาทำไร่ข้าวโพดและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านรองเพกาเพราะสมัยก่อนการเดินทางไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน

ประวัติตำบลนิยมชัย
          ตำบลนิยมชัยเดิมมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์และต่อมามีประชาชนอพยพมาจากหมู่บ้านเล็กๆเพื่อจะเข้ามาอยู่อาศัยและหาพื้นที่ทำมาหา กิน จึงรวมกันเป็นกลุ่มบ้าน ซึ่งมีประวัติความเป็นมาของแต่ละพื้นที่ดังนี้
ประวัติหมู่บ้านซับตะกั่ว
          ตั้งเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๓ ความเป็นมาชื่อบ้านซับตะกั่วจากคำบอกเล่าของชาวบ้านนั้น เมื่อก่อนมีพรานเดินป่าล่าสัตว์ได้มาพักที่แห่งนี้แล้วใช้หินทำกับข้าวเป็นเสาข้าวแต่เมื่อหินโดนความร้อนก็ละลายเป็นตะกั่ว จึงเรียกว่าบ้านซับตะกั่วจนถึงปัจจุบัน
ประวัติหมู่บ้านดงน้อย
          จัดตั้งหมู่บ้านดงน้อยเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีนายบุญชู สุวรรณี เป็น ผู้ใหญ่บ้านรวมกลุ่มตั้งหมู่บ้านคือ นายศาลา พานยม ขึ้นอยู่กับ ต.สระโบสถ์ อ.โคกสำโรง สมัยนายอำเภอ นายโอกาส พลศิลป์ เป็นนายอำเภอ บ้านดงน้อยเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ตอนนั้นชาวบ้านอยู่กระจัดกระจายไม่มีถนนการสื่อสารก็ไม่สะดวกลำบากมากการดูแลก็ลำบากจึงแบ่งเป็นสองหมู่บ้านคือหมู่บ้านวังมโนราห์
ประวัติหมู่บ้านดงหลุ่ม
          สภาพเดิมเป็นป่าเป็นดง ยังไม่มีหมู่บ้าน อยู่ต่อมาในประมาณ พ.ศ.2510 ก็จัดตั้งหมู่บ้านโดยหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำคลองหลุ่มซึ่งอยู่ในตำบลสระโบสถ์ มีหมู่บ้านที่ ตั้งตอนนั้น 4 หมู่บ้าน ซับตะกั่วหมู่ที่ 1 หมู่บ้านดงหลุ่มหมู่ที่ 3 หมู่บ้านด่านจันทร์ หมู่ที่ 6 หมู่บ้านวังแขม หมู่ที่ 7
ประวัติหมู่บ้านเขาหมูมัน
          บ้านเขาหมูมัน ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต.นิยมชัย จ.ลพบุรี เดิมที่เป็นส่วนหนึ่งของบ้านดงหลุ่ม ต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นจึงเรียกชื่อว่าบ้านเขาหมูมัน มีผู้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านว่าสมัยก่อนคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่าได้เข้ามาหักร้างถางป่าเป็นที่ดินทำกินได้ปลูกมันเทศเป็นพืชหลักเพราะไม่ที่ทำนาอยู่มาวันหนึ่งมีหมูป่าฝูงหนึ่งได้พากันมากินมันเทศที่ชาวบ้านปลูกไว้ชาวบ้านไล่ไม่ทันจึงยิงหมูป่าฝูงนั้นตายหนึ่งตัว แต่พอนำหมูป่าตัวนั้นมาชำแหละแบ่งกันเพื่อเป็นอาหารปรากฏว่าหมูป่าตัวนั้นมีแต่มันมีเนื้อเพียงหน่อยเดียว ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านเขาหมูมัน
ประวัติหมู่บ้านรังเตี้ย
          เดิมทีนายเทียน พรมหอม เป็นผู้มาทำมาหากินอยู่ก่อนในครั้งนั้นเป็นหมู่ที่ ๖บ้านด่านจันทร์ ต่อมา นายสนัด คล้ายพงษ์ ได้ย้ายมาจาก หมู่ ๔ ต.ทุ่งท่าช้าง เข้ามาอยู่ขอตั้งเป็นบ้านรังเตี้ย หมู่ที่ ๕ เพราะหมู่ที่ ๕บ้านรังเตี้ย เดิมมีต้นรังเล็กๆ อยู่มาก จึงใช้ชื่อบ้านรังเตี้ย จากนั้นจึงนำพาลูกหลานเข้ามาอยู่กันจนเป็นกลุ่ม อยู่ตลอด
ประวัติบ้านด่านจันทร์
แต่เดิมที่มาของชื่อหมู่บ้านมาจาก นายจ่อย บุญมา พรานล่าสัตว์ ออกล่าสัตว์ในป่าดงดิบ และเกิดอาการอ่อนล้าจึงพักอยู่ใต้ ต้นจัน ต้นใหญ่ที่อยู่ในป่าเมื่อนายจ่อย บุญ-มา ออกล่าสัตว์ครั้งใดก็จะพบต้นจันนี้ตลอด จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ว่า บ้านด่านจันทร์ ซึ่งก่อตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑
ประวัติหมู่บ้านวังแขม
          ประมาณ ๖๕ ปีที่ผ่านมา มีผู้เฒ่าได้เล่าให้ฟังว่าก่อนที่จะเป็นหมู่บ้านนั้นเดิมทีได้มีคนมาอาศัย ๓ ครัวเรือน มีหนองน้ำหรือบางคนก็เรียกว่าวังน้ำใสในสมัยนั้น ใช้กินหรือดื่มและใช้สอยฯลฯ และมีต้นไม้ที่ชื่อว่าต้นอ้อยแขม ก็ไม่ทราบว่าเป็นต้นแบบไหน คนในยุคนั้นก็เรียกหมู่บ้านว่าบ้านวังแขม เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นบ้านวังแขม หมู่ที่ ๗
ประวัติหมู่บ้านคลองมะเกลือ
          บ้านคลองมะเกลือเดิมชื่อบ้านม่วงเพราะมีต้นมะม่วงป่าเยอะแต่อยู่ติดลำคลองที่มีต้นมะเกลือต้นใหญ่มากเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นคลองมะเกลือในปัจจุบัน ต้นมะเกลือไม่มีแล้ว โดยมี นายมา ลาอินทร์ เป็นผู้มาตั้งถิ่นฐานต่อมาภายหลังได้แยกออกมาเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มใหญ่ย้ายมาเป็นคลองมะเกลือห่างจากอ.สระโบสถ์ ๑ กม.และกลุ่มเล็กห่างจาก อ.สระโบสถ์ ๒ กม. แต่ทั้ง๒กลุ่มก็ยังใช้ชื่อบ้านคลองมะเกลือหมู่ที่๘มาจนกระทั่งปัจจุบัน
ประวัติหมู่บ้านห้วยเขว้า
          เมื่อก่อนมีต้นเขว้าอยู่ริมคลองต้นหนึ่งใหญ่มากคลองนี้เรียกว่า คลองตะกุดแหนผ่านหมู่บ้านนี้ผู้ที่มาอาศัยอยู่ก่อนก็ปรึกษากันว่าเราจะตั้งชื่อหมู่บ้านอะไรดีพอผู้ที่อาศัยอยู่เห็นต้นเขว้าอยู่ริมคลองก็เลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านห้วยเขว้า ก็เรียกผิดปากว่าบ้านห้วยเขว้ามาจนถึงปัจจุบันนี้ห้วยเขว้าเป็นภาษาพื้นบ้านที่ใช้เรียกชื่อหมู่บ้านสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
ประวัติหมู่บ้านนิยมชัย
          เดิมหมู่บ้านนิยมชัยอยู่ร่วมกันกับหมู่บ้านสระโบสถ์ต่อมานายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรีได้จับจองที่ดินและก่อสร้างห้องแถวให้เช่าจึงมีประชากรมาอาศัยอยู่เป็นกลุ่มใหญ่จึงขอแยกออกจากหมู่บ้านสระโบสถ์มาตั้งชื่อ
หมู่บ้านใหม่ว่าหมู่บ้านนิยมชัยเพราะมีนายนิยม วรปัญญาเป็นเจ้าของพื้นที่ส่วนมากประวัติหมู่บ้านสามแยกประดู่งาม เดิมทีบ้านสามแยกประดู่งามก็คือหมู่บ้านซับตะกั่วหมู่ที่ ๑ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้ขอแยกออกจากหมู่ที่ ๑ มาเป็นบ้านสามแยกประดู่งามเพราะมีป่าไม้คือบ้านประดู่ในช่วงนั้นจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า สามแยกประดู่งาม โดยในขณะนั้นมีพ่อใหญ่พุด กิจสำเร็จ เป็นผู้ใหญ่บ้านและได้รับเลือกเป็นกำนัน ต.นิยมชัยในเวลาต่อมาปัจจุบันนี้มีผู้ใหญ่ปรีชา กิจสำเร็จเป็นผู้ใหญ่บ้าน
ประวัติหมู่บ้านวังมโนราห์
          ชื่อของหมู่บ้านวังมโนราห์มีเรื่องเล่ากันต่อๆ มาว่า นายพรานล่าสัตว์ ชื่อนายบุญ บุญมี ออกล่าสัตว์จนเมื่อยล้าและพักนอนหลับบริเวณใต้ต้นไทรใกล้วังน้ำและได้ฝันเห็นนางมโนราห์ลงเล่นน้ำอยู่ในวังน้ำเมื่อตื่นขึ้นภาพนั้นยังติดตาไม่ลืมเลือนจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า วังมโนราห์ บ้านวังมโนราห์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ โดย นายยาย แก้วสมบัติ นายจวน แก้วสมบัติ นายส่วน แก้วสมบัติ ซึ่งอพยพมาจาก จังหวัดร้อยเอ็ด และนายบุญ บุญมีซึ่งอพยพมาจาก จังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้มาก่อตั้งรุ่นแรก
ประวัติความเป็นมาของตำบลมหาโพธิ

บ้านมหาโพธิ
          บ้านมหาโพธิ ตั้งมากี่ปีไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่าเมื่อก่อสร้างหมู่บ้านนี้ ตั้งอยู่ที่เขาดินเรียกว่าบ้านเขาดิน (ปัจจุบันไม่มีบ้านเรือนตั้งอยู่) ซึ่งอยู่ไปทางตะวันออกของหมู่บ้านปัจจุบันประมาณ ๒ กิโลเมตร ต่อมาที่บ้านเขาดินขาดแคลนน้ำ แต่ที่ตั้งปัจจุบันมีหนองน้ำอุดมสมบรูณ์ ใช้เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย อุปโภค บริโภค จึงย้ายมาอยู่ที่บริเวณหนองน้ำพุ (ปัจจุบันเป็นบ่อน้ำซีเมนต์) ที่บริเวณหนองน้ำพุมีต้นไม้หลายชนิด เป็นร่มเงาที่ดีมากจึงมีการสร้างวัดขั้นไกลกับบ่อน้ำและบริเวณวัดที่มีต้นโพธิ์หลายสี เกิดขึ้นในวัดจึงตั้งชื่อว่า “วัดศรีมหาโพธิ์” ต่อมาได้มีการตัดต้นโพธิ์ทิ้ง (แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเพราะอะไร) ต่อมาได้ออกเสียงเป็น “บ้านมหาโพธิ” จึงมาถึงปัจจุบันสันนิษฐานว่า หลวงปู่เพ็ง เป็นผู้สร้าง แต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน
บ้านกระดานเลื่อน
          บ้านกระดานเลื่อน เดิมหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่หมู่บ้านเขาดิน อยู่ในเขตของหมู่บ้านมหาโพธิปัจจุบัน ต่อมาผู้คนได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านกระดานเลื่อน คำว่า “กระดานเลื่อน”มีประวัติดังนี้

ความเป็นมาของชื่อ บ้านกระดานเลื่อน คือ ตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า ผู้คนที่อพยพมาอยู่หมู่บ้านนี้อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านเขาดินมาก่อนบังเอิญเกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค)

ทำให้ผู้คนถึงแก่ความตายเป็นจำนวนมาก ใครที่โชคดีไม่เป็นโรคนี้ก็รวมตัวชักชวนกันอพยพหนี้โรคห่า โดยใช้พาหนะเรียกว่า “ล้อเลื่อน” ขนข้าวของออกมาหวังหนีความตาย ตามความเชื่อของคนสมัยนั้น บังเอิญมาถึงตรงบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านขณะนี้ กระดานที่ใช้ ล้อเลื่อนมาหวังจะปลูกเป็นที่อยู่อาศัย แม้จะนำขั้นไว้บนล้อเลื่อน ดังเดิม ก็ไม่สามารถอยู่ได้ไม้กระดานก็เลื่อนลง มาจนสุดความสามารถ ผู้คนจึงพร้อมใจกันไม่อพยพต่อและปลูกบ้านเรือนอยู่ตรงนั้น และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านกระดานเลื่อน” มาถึงปัจจุบัน

บ้านคลอง

เดิมประชากร อพยพหนีโรคระบาด มาจากบ้านเขาดิน (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน) และแยกกันไป ๓ หมู่เหล่า หมู่แรกตั้งอยู่ที่มหาโพธิ ที่เหลืออพยพต่อมาอีก โดยใช้พาหนะโดยการขนย้ายสิ่งของคือ การรากล้อเลื่อน ถึงบ้านกระดานเลื่อนปัจจุบันประชากรที่อยู่ตรงนั้น จึงตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านกระดานเลื่อนเพราะเกิดปัญหาจากล้อเลื่อนซึ่งขนสิ่งของส่วนประชากรที่ไม่พอใจ ก็อพยพต่อไปมาถึง “ลำคลอง” แห่งหนึ่งเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะกับการตั้งถิ่นฐาน เพราะจะได้อาศัยน้ำในลำคลองเป็นน้ำดื่มน้ำใช้ จึงพร้อมใจกันตั้งหลักแหล่งอยู่ ๒ ฝั่งคลอง ทำให้หมู่บ้านมีสภาพเป็นคลองที่ผ่านกลางหมู่บ้าน จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านคลอง”

บ้านโคกประดู่

หมู่บ้านโคกประดู่ ตั้งอยู่เหนือสุดของอำเภอสระโบสถ์ ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจาก หมู่ที่ ๖ บ้านคลอง ตำบลมหาโพธิ แต่ก่อนพื้นที่ยังเป็นป่าหัว ไม่มีผู้ใดจับจองเป็นเจ้าของด้วยการมองการไกลของผู้นำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๖ คือ นายย้วย ชุนดี (ขณะนั้น) จึงพาลูกหลานมาจับจองและจัดแบ่งเป็นที่สาธารณะ เช่น วัด สระน้ำ สำหรับคำว่า “ประดู่” ตามลักษณะพื้นที่เพราะมีต้นประดู่หลายพันธุ์ และภูมิประเทศที่ราบสูงจึงเรียกว่า

“โคกประดู่”

บ้านหนองกระทุ่ม

เล่ากันว่า ก่อนที่จะตั้งเป็นหมู่บ้าน เนื่องด้วยตระกูลดังกล่าวมาคนตัดฟืนหลาเพราะสมัยยังเป็นป่า เมื่อการตัดฟืนผ่านไปแล้วก็จะเป็นทีโล่งเตียน จึงจับเป็นเจ้าของโดยปลูกเป็นที่อยู่อาศัย ต่อมาผู้คนในหมู่บ้านนี้ ได้สมรสกัน มีลูกหลานเพิ่มขึ้น จึงได้กลายจากบ้านเป็นหมู่บ้าน คำว่า “หนองกระทุ่ม” เดิมมีบ่อน้ำหนึ่งใช้สำหรับอุปโภค บริโภคของคนงานตัดฟืนหลาและมี “ต้นกระทุ่ม” เมื่อคนงานเลิกจากการทำงานก็จะมาอาศัยบ่อน้ำนี้ในการอุปโภคบริโภค และนอนพักใต้ต้นกระทุ่ม จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ขั้นมาว่า “หนองกระทุ่ม”

บ้านหัวเขา

นานมาแล้ว พ.ศ.2525 ผู้ใหญ่บ้าน บ้านคลองได้ของแยกหมู่บ้านใหม่ คือ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลมหาโพธิ ชาวบ้านได้ตั้งชื่อว่า “บ้านหัวเขา” ซึ่งมีทิวเขามาสิ้นสุดตรงที่หมู่บ้านพอดี ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นที่ตั้งวัดหัวเขาสามัคคี ชาวบ้านจึงเรียกชุมชนนี้ว่า “บ้านหัวเขา” ประชาชนที่ตั้งรากฐานส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่และอีกส่วนหนึ่งอพยพมาจากทางภาคอีสาน

ประวัติความเป็นมาของตำบลทุ่งท่าช้าง


บ้านทุ่งท่าช้าง

ตำบลทุ่งท่าช้าง ตั้งอยู่ทิศใต้ของตำบลสระโบสถ์ เมื่อสมัยก่อนมีชาวบ้านอพยพมาจากบ้านชายทุ่ง จังหวัดพิจิตรเมื่อมาถึงที่ซึ่งปัจจุบันเป็นตำบลทุ่งท่าช้างเห็นว่าเป็นราบลุ่มเหมาะสมกับการทำนา จึงได้ปลูกเป็นกลุ่ม จากนั้นชาวบ้านถางป่าเพื่อทำนาตามความพอใจของตัวเอง ต่อมาชาวบ้านสระโบสถ์บางคน ซึ่งมีที่นาอยู่ก่อนแล้ว ก็มาปลูกบ้านร่วมกันอีกซึ่งคนสระโบสถ์เรียก

“หมู่บ้านทุ่งท่าช้าง”เหตุที่เรียกว่าหมู่บ้านทุ่งท่าช้างเพราะบริเวณหมู่บ้านมีป่าทึบมีคลองเพื่อให้ชาวบ้านใช้น้ำจากลำคลองและมีสัตว์มากมายรวมทั้งฝูงช้างป่าชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า

“บ้านทุ่งท่าช้าง”

บ้านหนองผักบุ้ง

เหตุที่เรียกหนองผักบุ้งเพราะว่าตรงบริเวณดังกล่าวมีหนองน้ำขณะใหญ่และมีผักบุ้งขึ้นเป็นจำนวนมากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ได้เรียกว่า“หมู่บ้านหนองผักบุ้ง”ประชาชนส่วนใหญ่ย้ายมาจากบ้านหินปั่น อำเภอบ้านหมี่ ชาวบ้านที่อาศัยพยายามจะแยกตัวออกเป็นหมู่บ้านเพื่อสะดวกแก่การปกครองแต่ก็ไม่สามารถแยกได้เนื่องจากครอบครัวไม่ครบจำนวนตามจำนวนจึงได้ชักชวนกันไปตั้งหมู่บ้านใหม่บ้านตะกุดหว้าซึ่งเป็นอาณาเขตที่ติดต่อกันได้กับหมู่บ้านหนองผักบุ้ง

ประวัติความเป็นมาของชุมชนตำบลห้วยใหญ่


สถานที่ตั้งหมู่ที่ 1 ตั้งอยู่ทิศเหนือของบ้านห้วยใหญ่ เดิมบ้านห้วยใหญ่ อยู่ในเขตตำบลสระโบสถ์ หมู่ที่ 7 ต่อมามีผู้คนอพยพมาอาศัย อยู่มากขึ้นซึ่งประชาชนที่อพยพเข้ามาอยู่ส่วนมากมาจาก บ้านถลุงเหล็ก อำเภอโคกสำโรง ชาวบางกะพี้ อำเภอบ้านหมี่ ตั้งแต่ พ.ศ.2475 จำนวน 17 ครอบครัว จึงได้แยกหมู่บ้านออกจาก ตำบลสระโบสถ์ มาขึ้นกับทุ่งท่าช้าง

ภาษาพูดทั่วไปพูดภาษาไทยกลาง ลักษณะการแต่งกายเดิมนุ่งกางเกงขายาวเสื้อคอกลมธรรมดา ส่วนผู้หญิงและคนชรานุ่งโจงกระเบน แต่เดี๋ยวนี้โจงกระเบนไม่มีนุ่ง จึงนุ่งผ้าถุงตามที่เห็นอยู่ทั่วไป ลักษณะผิว ดำแดง

แหล่งเรียนรู้อำเภอสระโบสถ์

 











ห้องสมุดประชาชนอำเภอสระโบสถ์

สถานที่ตั้ง      ๘๕/๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลสระโบสถ์  อำเภอสระโบสถ์ 
                   จังหวัดลพบุรี ๑๕๒๔๐ โทรศัพท์๐๓๖- ๔๓๙๑๒๕
ความเป็นมา   ห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย และเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายด้วยบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาและมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ  จึงต้องมีการพัฒนาห้องสมุดให้มีระบบบริหารจัดการที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการให้มีความหลากหลาย  ทันสมัย  ครบถ้วน  และพัฒนาเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการเรียนรู้  มีบริการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
กิจกรรมการให้บริการ                 -ให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์ เช่นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์
                                                    -ให้บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เช่น วีซีดี วีดีทัศน์ เทป
                                                    -ให้บริการรายการโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม
                                                 -ให้บริการการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
                                                   
 วัน-เวลาที่ให้บริการ                   วันจันทร์-วันอาทิตย์  เวลา ๐๘.๓๐ น -๑๖.๓๐ น
                                                   
                                                             
















วัดร่องเพกา
สถานที่ตั้ง                                        หมู่  ๑๑  บ้านร่องเพกา  ตำบลสระโบสถ์   อำเภอสระโบสถ์
                                                         จังหวัดลพบุรี    ๑๕๒๔๐
ความเป็นมา                                     เนื่องจากว่าสมัยก่อนชาวบ้านร่องเพกาเดินทางไปทำบุญ
                                                         ลำบากจึงไม่ค่อยมีใครไปทำบุญกันเพราะทางเดินลำบาก
                                                         หลังจากนั้นจึงมีพระสงฆ์มาปฏิบัติธรรมที่หมู่บ้านร่องเพกา
                                                         เป็นเวลานานชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจสร้างศาลาไม้ขึ้น
                                                         ที่มาจากต้นไม้ของชาวบ้านต่อมาเมื่อเวลาไม่นานศาลา
                                                         จึงพุพังลง   หลังจากนั้นจึงมีการก่อตั้งศาลาวัดขึ้นอีก
                                                         ปัจจุบันชาวบ้านเริ่มหันมาทำบุญกันมาก
กิจกรรมการให้บริการ                     ให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนา  ประวัติศาสตร์   วัฒนธรรม
วัน-เวลาให้บริการ                            ทุกวัน
ผู้รับผิดชอบ                                     พระครูอนุกูล



                             














วัดเขาตะพานหิน

สถานที่ตั้ง                           หมู่ ๙  ตำบลสระโบสถ์  อำเภอสระโบสถ์ 
                                            จังหวัดลพบุรี  ๑๕๒๔๐
ความเป็นมา                      เมื่อก่อนไม่มีคนรู้จักวัดเขาตะพานหินเป็นวัดที่ติดกับเขาทุ่งนา
                                           ไกลจากหมู่บ้านจึงไม่มีใครรู้จักจึงไม่มีใครไปทำบุญเมื่อถึงฤดูกาล
                                     ทำนาจึงมีชาวบ้านไปทำนาบริเวรนั้นจึงค่อยๆมีคนรู้จักวัดเขา
                                     ตะพาน หินมาเรื่อยๆปัจจุบันก็มีชาวบ้านบางส่วนมาช่วยกันพัฒนา
                                     ให้วัดดีขึ้น  และทุกวันพะจะมีคนมาทำบุญกันเป็นประจำ
กิจกรรมการให้บริการ             ให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนา   ประวัติศาสตร์    วัฒนธรรม
   
ผู้รับผิดชอบ                                พระบุญเลี้ยง   ฉันทสุโภ

                                    
















สำนักปฏิบัติธรรมอดิเรกสาร(วัดสระใหญ่)

สถานที่ตั้ง                              หมู่๑๒  ตำบลสระโบสถ์   อำเภอสระโบสถ์
                                               จังหวัดลพบุรี   ๑๕๒๔๐
ความเป็นมา                           เมื่อก่อนวัดสระใหญ่เป็นสำนักสงฆ์ใช้ในการปฏิบัติ
                                               ธรรมของสงฆ์ปัจจุบันมีพระสงฆ์มาปฏิบัติธรรมเป็น
                                               จำนวนมากและมีสระน้ำที่ใหญ่กว่าวัดอื่นเพราะเมื่อก่อน
                                               ไม่ได้ใช้รถขุดแต่ใช้คนขุดแทนและชาวบ้านจึงเรียกว่า
                                               วัดสระใหญ่จนถึงปัจจุบันนี้มีชาวบ้านต่างพา กันไป
                                                ทำบุญตักบาตรทุกวันพระ
 กิจกรรมการให้บริการ           ให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนา  ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
ผู้รับผิดชอบ                            พระจอม   เขมวโร




















วัดสว่างอารมณ์  (วัดสระโบสถ์)

สถานที่ตั้ง                  หมู่๙   ตำบลสระโบสถ์  อำเภอสระโบสถ์  
                                   จังหวัดลพบุรี    ๑๕๒๔๐
ความเป็นมา               ในสมัยก่อนนั้นสระโบสถ์ยังไม่มีความเจริญมีแต่ป่าช้าและจำนวน
                    บ้านเรือนก็มีไม่กี่หลังมีวัดซึ่งในวัดมีโบสถ์และสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ติดกันและเมื่อมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นก็มีการขยายหมู่บ้านขึ้ใหม่ได้มีชาวบ้านต่างพากันมาพัฒนาวัดให้ดีขึ้นจนมีการสร้างโบสถ์ใหม่อีกหลังจากนั้นก็เริ่มพัฒนากันไปเรื่อยๆและพระพุทธรูปประจำวัดคือหลวงพ่อยอที่เป็นพระประจำวัดเพราะมีชาวบ้านเล่าขานกันมาหลายปีถึงการค้นพบพระพุทธรูปองค์ในสระน้ำเมื่อมีชาวบ้านไปยก ยอที่สระข้างโบสถ์และได้ยกยอขึ้นจึงติดพระพุทธรูปขึ้นมาและชาวบ้านจึงนำมาประดิษฐ์สถานไว้ที่วัดสระโบสถ์ดังนั้นจึงเป็น
พระพุทธรูปคู่บ้านสระโบสถ์มาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมการให้บริการ             ให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนา     ประวัติศาสตร์    วัฒนธรรม ผู้รับผิดชอบ                             พระครูอุดมสราภิรักษ์
            










      




                





ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลสระโบสถ์

สถานที่ตั้ง                       หมู่ที่     ตำบลสระโบสถ์  อำเภอสระโบสถ์
                                       จังหวัดลพบุรี
ความเป็นมา                   ในสมัยก่อนได้ยืมศาลาเมตตาธรรมเป็นที่ให้การศึกษาหลัง
                                       จากนั้นได้ย้ายจากศาลาเมตตามาเป็นกุฏิเก๊กห้วงเมื่อปี
                                       พ.ศ.  ๒๕๕๑จนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมการให้บริการ   เป็นแหล่งเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ
                                       ด้านพัฒนาอาชีพ  พัฒนาสังคมและชุมชนอัธยาศัย
                                       ศูนย์ข้อมูลชุมชนฯลฯ
วัน-เวลาที่ให้บริการ      วันอาทิตย์   เวลา  ๐๙.๐๐ น. -๑๒.๐๐ 
ผู้รับผิดชอบ                  นางสายบัว    พลมาลา  ครูศูนย์การเรียนชุมชน

                                                             

















เขาฟ้าแลบ

สถานที่ตั้ง                                บ้านซับตะกั่ว  ตำบลนิยมชัย  อำเภอสระโบสถ์
                                                 จังหวัด ลพบุรี ๑๕๒๔๐
กิจกรรมการให้บริการ               เป็นแหล่งศึกษาตามธรรมชาติ
ลักษณะเด่นของแหล่งท่องเที่ยว
          เขาฟ้าแลบเป็นพื้นที่ค่อนข้างสมบูรณ์  มีภูเขาสลับซับซ้อนสูงจากระดับน้ำทะเล  1,200 เมตร  ทำให้ผู้ที่เดินทางที่ขึ้นถึงยอดเขา  สามารถมองเห็นทิวทัศน์รอบๆ ภูเขา  เช่น  เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้อย่างชัดเจน
          เขาฟ้าแลบ  เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มีสัตว์ป่าพอที่จะให้ทัศนศึกษา  เช่น  หมูป่า  กระต่ายป่า  อีเห็น  พังพอน  กระรอก  กระแต  ไก่ป่า  นกหลายชนิดมีสีสันสวยงาม  นอกจากนั้นยังได้มีการค้นพบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาฟ้าแลบ 






















น้ำตกซับไผ่

สถานที่ตั้ง                           บ้านดงหลุ่ม  ตำบล นิยมชัย  อำเภอ    สระโบสถ์
กิจกรรมการให้บริการ              เป็นแหล่งศึกษาตามธรรมชาติ
ผู้รับผิดชอบ                         องค์การบริหารส่วนตำบลนิยมชัย
ลักษณะโดยทั่วไป                   เป็นน้ำตกธรรมชาติจากป่าต้นน้ำลำธารเป็นต้นน้ำของน้ำตกเตาต้น































น้ำตกเตาต้น

สถานที่ตั้ง                               บ้านดงหลุ่ม   ตำบล  นิยมชัย  อำเภอสระโบสถ์
กิจกรรมการให้บริการ             เป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติ
ผู้รับผิดชอบ                             องค์การบริหารส่วนตำบลนิยมชัย
ลักษณะโดยทั่วไป                    เป็นน้ำตกที่ไหลมาจากน้ำตกซับไผ่ มีความยาวของน้ำตก
                                                 ประมาณ  ๙๕๐  เมตรสูง    ชั้น
ผู้รับผิดชอบ                             องค์การบริหารส่วนตำบลนิยมชัย




























วัดธรรมวงษ์  (วัดเขาถ้ำ)

สถานที่ตั้ง                                  บ้านวังแขม  ตำบลนิยมชัย อำเภอสระโบสถ์ 
                                                   จังหวัดลพบุรี
กิจกรรมการให้บริการ                 เป็นแหล่งการศึกษาทางศาสนา   และประวัติศาสตร์
                                                    และวัฒนธรรม
ผู้รับผิดชอบ                                 พระครูสุขุมธรรมมานุยุต
ลักษณะโดยทั่วไป                         เป็นสถานที่ท่องเที่ยว  อนุรักษ์ธรรมชาติ 
                                                      มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เคารพบูชา   คือ  หลวงพ่อสำเร็จ  




















ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน  ตำบลนิยมชัย

สถานที่ตั้ง                                               เลขที่๒๙/๑  หมู่ที่๖  ตำบลนิยมชัย  
                                                                อำเภอสระโบสถ์     จังหวัดลพบุรี 
กิจกรรมการให้บริการ                            เป็นแหล่งเรียนรู้ การศึกษาขั้นพื้นฐานนอก  
                                                               ระบบ  ด้านพัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคมและชุมชน 
                                                               อัธยาศัย   ศูนย์ข้อมูลชุมชนฯลฯ
วัน-เวลาที่ให้บริการ                               วันอาทิตย์  ๐๙.๐๐  น.  -๑๒.๐๐ น.
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม            -
ผู้รับผิดชอบ                                           นางสาว  ณัฐพร  เจริญมาก  ครูศูนย์การเรียน
                                                               ชุมชน
ลักษณะโดยทั่วไป                                 อยู่ในการควบคุมของกำนันเติมประจำ
                                                              ตำบลนิยมชัย
                                                        


















สถานีอนามัย  ตำบลนิยมชัย  (ดงหลุ่ม)

สถานที่ตั้ง                                   หมู่ที่๓  ตำบลนิยมชัย อำเภอสระโบสถ์  จังหวัดลพบุรี
กิจกรรมการให้บริการ                 ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพด้านต่างๆ
วัน-เวลา ที่ให้บริการ                    วันจันทร์-วันเสาร์  เวลา  ๐๙.๐๐น.  -  ๑๕.๐๐ น.
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม   -
ผู้รับผิดชอบ                                 นางภรณ์พัสวีย์   นุ่มอุรา






















ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านหัวเขา 

สถานที่ตั้ง                  หมู่ที่ ๑๐ ตำบลมหาโพธิ     อำเภอสระโบสถ์
                                      จังหวัดลพบุรี
ความเป็นมา                เป็นการจัดตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการให้มีการ พัฒนาด้านการศึกษา
            สำหลับเด็กก่อน วัยเรียนจึงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น
กิจกรรมการให้บริการ       เป็นศูนย์พัฒนาเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๓  ขวบ
วัน-เวลาที่ให้บริการ              ทุกวัน    เวลา  ๐๘.๐๐ น. -๑๕.๐๐ 
ผู้รับผิดชอบ               นางบุญสม    จุ้ยทอง






                                                                                                  















องค์การบริหารส่วนตำบลมหาโพธิ

สถานที่ตั้ง                                   หมู่ที่ ๑ ตำบลมหาโพธิ     อำเภอสระโบสถ์
                                                จังหวัดลพบุรี
ความเป็นมา                                เนื่องจากตำบลมหาโพธิยังไม่มีเทศบาลจึงเกิดการ
                                                จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น   เพื่อจัดหาคน
                                                มาปรับปรุงและพัฒนาตำบลมหาโพธิ
กิจกรรมการให้บริการ           เป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลของตำบล
วัน-เวลาที่ให้บริการ                       จันทร์ - ศุกร์    เวลา  ๐๘.๐๐ น. -๑๕.๐๐ 
ผู้รับผิดชอบ                        นายประสิทธ์   ตระกูลคล้อยดี

















วัดบ้านมหาโพธิ

สถานที่ตั้ง                                    หมู่ที่ ๗ ตำบลมหาโพธิ     อำเภอสระโบสถ์
                                                จังหวัดลพบุรี
ความเป็นมา                       เนื่องจากในสมัยก่อนเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านมหาโพธิขึ้น ชาวบ้านหมู่บ้านมหาโพธิจึงร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างวัดขึ้นมาไว้เพื่อเป็นที่สการะบูชาหรือเป็นที่พึ่งทางใจ
กิจกรรมการให้บริการ           เป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลทางพระพุทธศาสนา
ผู้รับผิดชอบ                        พระปลัดสะอาด    ปภาสโล
























วัดทุ่งท่าช้าง

สถานที่ตั้ง                                   หมู่ที่ ๑ ตำบลทุ่งท่าช้าง     อำเภอสระโบสถ์
                                                จังหวัดลพบุรี
กิจกรรมการให้บริการ           เป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลทางพระพุทธศาสนา
ผู้รับผิดชอบ                        พระครูคุณสัมบัน


























องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งท่าช้าง

สถานที่ตั้ง                                   หมู่ที่ ๑ ตำบลทุ่งท่าช้าง     อำเภอสระโบสถ์
                                                จังหวัดลพบุรี
ความเป็นมา                      เนื่องจากตำบลทุ่งท่าช้างยังไม่มีเทศบาลจึงมีการจัดตั้งองค์การ
                                                บริหารส่วนตำบล  เพื่อจัดหาคนมาปรับปรุงและพัฒนา
                                                ตำบลทุ่งท่าช้าง
กิจกรรมการให้บริการ           เป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลของตำบล  เป็นสถานที่บริการประชาชน
วัน-เวลาที่ให้บริการ                        จันทร์ - ศุกร์ ๐๘.๐๐- ๑๕.๐๐
ผู้รับผิดชอบ                        นายเยื้อ     เทศโล

















         




ศูนย์พัฒนาชุมชนตำบลทุ่งท่าช้าง

สถานที่ตั้ง                                       หมู่ที่ ๑ ตำบลทุ่งท่าช้าง     อำเภอสระโบสถ์         จังหวัดลพบุรี
กิจกรรมการให้บริการ              เป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลของตำบล  เป็นสถานที่    บริการประชาชน
วัน-เวลาที่ให้บริการ             อาทิตย์ ๐๘.๐๐- ๑๕.๐๐
ผู้รับผิดชอบ                         นางมยุรี    เกตุคง

























ศูนย์การเรียนรู้  ก. ศ .น  ตำบลห้วยใหญ่

สถานที่ตั้ง                                  สภา อ. บ. ต เก่าบ้านห้วยใหญ่ หมู่ 1
                                                   ตำบล  ห้วยใหญ่ อำเภอสระโบสถ์
                                                   จังหวัด ลพบุรี
กิจกรรมการใช้บริการ                เป็นศูนย์การเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ห้องสมุด
วัน เวลาที่ให้บริการ                   ทุกวันอาทิตย์
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม    -
ผู้รับผิดชอบ                               นาย นิรุตติ์     วงษ์สุวรรณ
                             



   



















โรงเรียนบ้านห้วยใหญ่

สถานที่ตั้ง                         หมู่    ตำบลห้วยใหญ่  อำเภอสระโบสถ์
                                          จังหวัดลพบุรี
กิจกรรมการให้บริการ       เป็นโรงเรียนให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียน
                                          และเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ท
วันเวลาให้บริการ               ทุกวันทำการหยุดวันนักขัตฤกษ์




























สถานีอนามัยบ้านห้วยใหญ่

สถานที่ตั้ง                                  หมู่    ตำบลห้วยใหญ่  อำเภอสระโบสถ์  จังหวัดลพบุรี
กิจกรรมการให้บริการ               ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพด้านต่างๆ
วัน-เวลา ที่ให้บริการ                  วันจันทร์-วันศุกร์  เวลา  ๐๘.๐๐  น.  -๑๕.๐๐ น.
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม  สิทธิ์บัตรทอง  ๓๐  บาท
ผู้รับผิดชอบ                                นาง  นาฏยา     กล่อมเกลา